แนะนำ RTPI (the Royal Town Planning Institute)
ดังได้กล่าวมาแล้วในบทเกริ่นนำblogนี้ในตอนแรกว่า
การสร้างบ้านแปงเมืองนั้นต้องอาศัยการจัดวางผังเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่ประกอบไปด้วยอาคารบ้านเรือน
เส้นทางคมนาคม ระบบขนส่งมวลชนและสาธารณูปโภคต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยต้องคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวดจริงจังเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงได้มีโอกาสไปเยือนในหลายๆอารยประเทศและได้เห็นบ้านเมืองของเขามีการจัดวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
มีการอนุรักษ์อาคารเก่าแก่ที่ได้รับการบำรุงรักษาไว้อย่างดี เขตที่ตั้งอาคารที่ใช้งานประเภทต่างๆกันจะถูกจัดวางโซนนิ่งแยกออกจากกันอย่างเป็นสัดส่วนเช่น
เขตโรงงาน เขตเกษตรกรรม ย่านการค้า สถานีบริการน้ำมัน ย่านสถานบันเทิง
เขตสถานที่ราชการ พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา เขตที่พักอาศัย
ฯลฯจะไม่อยู่ปะปนกันอย่างสับสนอลหม่านอย่างไร้การควบคุม
ลักษณะอาคารบ้านเรือนถูกควบคุมรูปแบบสีสันให้มีการปลูกสร้างอย่างเป็นระเบียบกลมกลืนสวยงาม
มีการควบคุมไม่ให้มีการติดตั้งป้ายโฆษณาระเกะกะเต็มเมือง ถนนหนทางรวมถึงทางด่วนในเมือง
ทางด่วนระหว่างเมือง มีการกันพื้นที่และจัดการจราจรที่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณยานพาหนะ
แม่น้ำลำคลองก็สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้พร้อมๆกับการรักษาสภาพน้ำไม่ให้เน่าเสียด้วยการมีระบบกำจัดน้ำเสียและกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ
ระบบขนส่งมวลชนบนดิน ใต้ดิน ระบบขนส่งทางรางก็มีบริการรองรับปริมาณการเดินทางของผู้คนและการขนส่งสินค้าได้เพียงพอโดยจัดวางเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางรางที่ไม่กีดขวางกับเส้นทางรถยนต์
ระบบสาธารณูปโภคก็มีการวางแผนจัดวางไว้ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด
เช่นมีทางระบายน้ำขนาดใหญ่ขนาดที่คนลงไปวิ่งได้
สายไฟฟ้าสายสื่อสารก็ฝังอยู่ในระบบใต้ดินเช่นเดียวกับท่อประปาท่อก๊าซ
ทางเท้ามีการออกแบบก่อสร้างเอื้อต่อการใช้งานของผู้สัญจรทางเท้าที่คิดถึงแม้แต่การเอื้อต่อคนพิการและยังมีการดูแลวัสดุที่ปูผิวให้เรียบเสมอกับฝาท่อต่างๆเป็นระเบียบสวยงาม
มีการจำกัด ควบคุมและจัดระเบียบผู้ค้าเร่ให้เป็นระเบียบและถูกสุขลักษณะอย่างเคร่งครัด
มีทางจักรยานที่แบ่งพื้นที่บนทางเท้าให้ใช้งานได้จริง มีการจัดแบ่งพื้นที่เมืองไว้เพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะพร้อมห้องน้ำสะอาดที่เป็นสัดส่วนที่เพียงพอทั่วถึงต่อจำนวนประชากรของเมือง
และยังมีความน่าทึ่งของเมืองที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้กับปฏิมากรรมในที่สาธารณะอื่นๆอีกมากมายเกินกว่าจะบรรยายได้หมดในที่นี้
เหล่านี้ล้วนเป็นผลมากจากการวางแผนการจัดวางผังเมืองอย่างมีวิสัยทัศน์และการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผังเมืองอย่างเคร่งครัด
การลงทุนก่อสร้างตามแผนก็เป็นไปอย่างพิถีพิถันและการบำรุงรักษาเมืองไว้ให้สะอาดสะอ้านสวยงามก็เป็นไปอย่างมีจิตสำนึกหวงแหนร่วมกันของชุมชน
อันเป็นเครื่องสะท้อนคุณลักษณะของผู้คนในเมืองเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
ในตอนนี้จึงจะขอแนะนำ RTPI
หรือ the Royal
Town Planning Institute ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน
การวางแนวทางการปฏิบัติงานและการให้การรับรองสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนให้มีการสร้างนักวางแผนพัฒนาเมืองขึ้น
RTPIก่อตั้งขึ้นในประเทศสหราชอาณาจักรในปีค.ศ.1913 ข้อมูล
ณ ปี2014มีสมาชิก
21,700คน
ในสหราชอาณาจักรและ1,300คนใน82ประเทศทั่วโลก
RTPI กล่าวไว้ในเอกสารชื่อThe Worldwide Value of
Planning, Planning around the world for the public goodว่าแม้การพัฒนาบ้านเมืองเป็นการลงทุนสร้างความเจริญ(ทางวัตถุ)ที่สามารถผลักดันความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดี
แต่ก็สามารถก่อให้เกิดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงยิ่งๆขึ้นได้
ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่การทำให้ทุกๆคนมีความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมได้หรือไม่
แต่อยู่ที่ความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนต่อส่วนรวมซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการวางแผนพัฒนาเมืองที่คำนึงถึงการรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับเป้าหมายในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของคนในสังคมทุกระดับชั้น
RTPI ได้กล่าวถึงสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความจำเป็นในการวางแผนพัฒนาเมือง(Some of the major challenge required planning)ดังนี้
- การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว(Rapid urbanisation) (คนที่อาศัยอยู่ในย่านชานเมืองมักจะพบว่าตนเคยรู้สึกว่าได้อาศัยอยู่ในทำเลที่โล่งสบายเมื่อครั้งที่มาซื้อบ้านอยู่ใหม่ๆในย่านดังกล่าว แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเริ่มแออัดและรถติดมากขึ้นทุกทีและลุกลามออกไปเรื่อยๆ นี่คือเหตุการณ์ใกล้ตัวที่อาจยกมาให้เห็นภาพการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี และการขยายตัวจะรวดเร็วกว่าที่ยกตัวอย่างมานี้มาก หากมีสิทธิประโยชน์จูงใจจากภาครัฐที่เป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะก่อให้เกิดการอพยพโยกย้ายประชากรเข้าสู่เขตเมืองใหม่ที่เรียกว่าเป็นdemographic shifts)
- ความยากจนและความไม่เท่าเทียม(Poverty and inequality)(เมื่อเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่ความยากจนและความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ยังคงอยู่ ก็จะเกิดสลัมซึ่งเป็นชุมชนแออัดของคนยากจนที่เข้ามาทำงานในเมืองเกิดขึ้นโดยแทรกตัวไปพร้อมกันกับการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะคนเหล่านั้นก็ต้องการที่พัก ไฟฟ้า น้ำประปา การโดยสารไปทำงานด้วยระยะทางในการเดินทางที่ไม่ไกลเกินไปเช่นเดียวกัน)
- ปัญหามลภาวะ(Pollution)(มลภาวะของเมืองในปัจจุบันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยต่างๆที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คร่าชีวิตผู้คนในเมืองเป็นจำนวนมากในแต่ละปี)
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ(Climate change)RTPI กล่าวไว้ในเอกสารชื่อThe Worldwide Value of Planningอีกว่าIPCC (the Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้คาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นจะทำให้เกิดพายุฝนมากขึ้นในภูมิภาคที่เป็นเขตร้อนชื้น(Tropical and Sub-tropical region) และแผ่นดินที่ร้อนขึ้นจะทำให้รอบระยะเวลาที่สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้จะลดลงซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะอดอยากมากขึ้น ในเขตเมืองก็จะยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้อย่างเป็นปกติสุข Oxfam(องค์กรการกุศลสากลเพื่อบรรเทาความยากจนของโลก)กล่าวว่าโลกที่ร้อนแล้งคือโลกแห่งความหิวโหย
กระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองจะมีการหยิบยกปัญหาดังกล่าวข้างต้นที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันมาพิจารณาในภาพรวม
โดยนักวางแผนพัฒนาเมืองจะมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการ:-
- ส่งเสริมสุขอนามัยของชุมชน (Promoting healthy cities)
- ปกป้องและยกระดับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Protecting and enhancing green infrastructure)
- จัดให้มีระบบขนส่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น (Providing for new transport systems)
- จัดให้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น(Ensuring good quality housing)
- เชื่อมโยงการพัฒนาเมืองเข้ากับการใช้พลังงานหมุนเวียน(Connecting renewable energy)
- จัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมของตนเอง(Engaging communities in designing their environments)
ตัวอย่างรายชื่อเอกสารเกี่ยวกับTown Planningที่น่าสนใจที่RTPIได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ได้แก่
Policy papers
- Capturing the wider benefits of investment in transport infrastructure
- Delivering large scale housing
- Fostering Growth: Understanding and Strengthening the Economic Benefits of Planning
- Strategic Planning
Practice
- Dementia and Town Planning
- Better Planning: Housing affordability
- Better Planning: Smart City-Regions
- Better Planning: Climate change
RTPI Library Series
- Instruments of Planning
- Planning for Growth: Urban and Regional Planning in China
- Reconsidering Localism
- The Craft of Collaborative Planning
- Planning and Conflict: Critical Perspectives on Contentious Urban Developments
- Conflict, Improvisation, Governance: Street Level Practices for Urban Democracy
- Strategic Spatial Projects: Catalysts for Change
Planning Theory and Practice
RTPI corporate publications
RTPI corporate publications
- RTPI Code of Professional Conduct (2016)
- RTPI 2015-2020 Corporate Strategy (2015)
- Corporate Strategy: mid-term revision (2012)
- Corporate Strategy 2010-2014 (2010)
- Shaping the Future: Manifesto for Planning (2010)
- RTPI New Vision for Planning (2001)
Etc.
นอกจากRTPIจะตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว RTPI ยังเปิดฝึกอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต่างๆผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องสอบผ่านเพื่อการรับรองความรู้ความชำนาญด้านTown Planningให้แก่สมาชิกระดับต่างๆ ดังนี้
ระดับStudent - สำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจในสาขาวิชาชีพด้านTown Planning สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกระดับนี้ได้ โดยสมัครเรียนหลักสูตรfull-time, part-time หรือ distance learning courseกับRTPI ให้จบหลักสูตร โดยสามารถเป็นสมาชิกระดับStudentได้ในระยะเวลาไม่เกิน10ปี
ระดับAffiliate - สำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจในสาขาวิชาชีพด้านTown Planning อาจจะยังไม่มีความรู้ทางด้านTown Planningเลยหรืออาจจะทำงานเกี่ยวข้องใกล้เคียงที่สนับสนุนงานTown Planning สมาชิกแบบนี้จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากRTPI ได้รู้จักกับเพื่อนๆเครือข่ายสมาชิก และยังได้รับส่วนลดในการสั่งซื้อหนังสือและการเข้าฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นต่างๆของRTPI
ระดับLicentiate - สำหรับผู้เรียนจบหลักสูตร RTPI accredited qualification เพื่อเข้าสู่เส้นทางที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นสมาชิกระดับCharter ต่อไป
ระดับAssociate สำหรับผู้เริ่มต้นทำงานในสาขาอาชีพทางด้านTown Planning(บางครั้งRTPIใช้คำว่าSpatial planning) โดยสมาชิกระดับนี้จะต้องมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่2ถึง7ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด (ตามภาพข้างล่าง)
และจะต้องสอบผ่านหลักสูตรฝึกอบรมของRTPIเพื่อเข้าสู่เส้นทางที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นสมาชิกระดับCharter ต่อไป สมาขิกระดับนี้มีสิทธิที่จะนำคำย่อAssocRTPIไปต่อท้ายชื่อของตนในนามบัตรหรือในจดหมายต่างๆได้
ระดับLegal Associate - สำหรับนักกฎหมาย (solicitor, advocate or barrister, or Chartered Legal Executive) ผู้เริ่มต้นทำงานในสาขาอาชีพทางด้านTown Planningที่เน้นหนักไปทางด้านวิชาชีพเกี่ยวกับนักกฏหมายควบคุมผังเมือง(Planning Law) สมาขิกระดับนี้มีสิทธิที่จะนำคำย่อLARTPIไปต่อท้ายชื่อของตนในนามบัตรหรือในจดหมายต่างๆได้
ระดับCharter - สำหรับสมาชิกที่เป็นนักวางผังเมืองมืออาชีพ (Chartered Town Planner) โดยสมาชิกระดับนี้จะต้องมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่5ถึง10ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด (ตามภาพข้างล่าง)
ระดับLegal Associate - สำหรับนักกฎหมาย (solicitor, advocate or barrister, or Chartered Legal Executive) ผู้เริ่มต้นทำงานในสาขาอาชีพทางด้านTown Planningที่เน้นหนักไปทางด้านวิชาชีพเกี่ยวกับนักกฏหมายควบคุมผังเมือง(Planning Law) สมาขิกระดับนี้มีสิทธิที่จะนำคำย่อLARTPIไปต่อท้ายชื่อของตนในนามบัตรหรือในจดหมายต่างๆได้
ระดับCharter - สำหรับสมาชิกที่เป็นนักวางผังเมืองมืออาชีพ (Chartered Town Planner) โดยสมาชิกระดับนี้จะต้องมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่5ถึง10ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด (ตามภาพข้างล่าง)
สมาขิกระดับนี้มีสิทธิที่จะนำคำย่อMRTPIไปต่อท้ายชื่อของตนในนามบัตรหรือในจดหมายต่างๆได้ เส้นทางสู่การเป็น Chartered Town Plannerที่รับรองโดยRTPIมีด้วยกัน3เส้นทางคือ
เส้นทางที่หนึ่ง - สำหรับผู้เรียนจบหลักสูตรเต็มและสอบผ่านได้รับRTPI accredited degreeเข้าเป็นสมาชิกระดับLicentiateและผ่านการฝึกอบรมอีกไม่ต่ำกว่า2ปี จากนั้นเมื่อผ่านการประเมินL-APC (the Licentiate
Assessment of Professional Competence)ก็สามารถยกระดับขึ้นเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
เส้นทางที่สอง - สำหรับผู้เรียนจบคอร์สระยะสั้นและสอบผ่านได้รับSpatial Planning degree(non- or part- accredited)หรือผ่านการอบรมRTPI Town Planning Technical Support Apprenticeshipหรือแม้จะมีdegreeด้านอื่นๆที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่2ถึง7ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด หลังจากผ่านการเป็นสมาชิกระดับAssociateและผ่านการฝึกอบรมอีกไม่ต่ำกว่า2ปี จากนั้นเมื่อผ่านการประเมินA-APC (the Associate Assessment of Professional Competence)ก็สามารถยกระดับขึ้นเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
เส้นทางที่สาม - สำหรับผู้เรียนจบคอร์สระยะสั้นและสอบผ่านได้รับSpatial Planning degree(non- or part- accredited)หรือผ่านการอบรมRTPI Town Planning Technical Support Apprenticeshipหรือแม้จะมีdegreeด้านอื่นๆที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่5ถึง10ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด และต้องการสมัครเป็นสมาชิกระดับCharterโดยตรงโดยไม่ผ่านการเป็นสมาชิกระดับAssociateมาก่อน หากผ่านการประเมินEP-APC (the Experienced Practitioner Assessment of Professional Competence)และมีผู้รับรองว่าผู้สมัครเป็นผู้ปฏิบัติงานหรือผู้สอนด้านการวางผังเมืองที่มีมาตรฐานในระดับgold standardจึงจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางสู่การเป็นChartered Town Plannerของบุคลากรต่างๆในมหาวิทยาลัย(Membership for academics)ดังนี้
เส้นทางที่สอง - สำหรับผู้เรียนจบคอร์สระยะสั้นและสอบผ่านได้รับSpatial Planning degree(non- or part- accredited)หรือผ่านการอบรมRTPI Town Planning Technical Support Apprenticeshipหรือแม้จะมีdegreeด้านอื่นๆที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่2ถึง7ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด หลังจากผ่านการเป็นสมาชิกระดับAssociateและผ่านการฝึกอบรมอีกไม่ต่ำกว่า2ปี จากนั้นเมื่อผ่านการประเมินA-APC (the Associate Assessment of Professional Competence)ก็สามารถยกระดับขึ้นเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
เส้นทางที่สาม - สำหรับผู้เรียนจบคอร์สระยะสั้นและสอบผ่านได้รับSpatial Planning degree(non- or part- accredited)หรือผ่านการอบรมRTPI Town Planning Technical Support Apprenticeshipหรือแม้จะมีdegreeด้านอื่นๆที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วตั้งแต่5ถึง10ปีขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมตรงกับงานด้านTown Planningเพียงใด และต้องการสมัครเป็นสมาชิกระดับCharterโดยตรงโดยไม่ผ่านการเป็นสมาชิกระดับAssociateมาก่อน หากผ่านการประเมินEP-APC (the Experienced Practitioner Assessment of Professional Competence)และมีผู้รับรองว่าผู้สมัครเป็นผู้ปฏิบัติงานหรือผู้สอนด้านการวางผังเมืองที่มีมาตรฐานในระดับgold standardจึงจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางสู่การเป็นChartered Town Plannerของบุคลากรต่างๆในมหาวิทยาลัย(Membership for academics)ดังนี้
หากผู้สมัครเป็นนักศึกษาปริญญาเอกหรือเป็นอาจารย์หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์มาไม่ต่ำกว่า2ปี
ก็อาจมีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกRTPIในระดับAssociateได้
หลังจากเป็นสมาชิกระดับAssociateและได้ผ่านการฝึกอบรมกับRTPIอีก2ปี
และผ่านการประเมินA-APC (the
Associate Assessment of Professional Competence)ก็สามารถยกระดับขึ้นเป็นสมาชิกระดับChartered
Membership
หากผู้สมัครที่เป็นนักวิจัยอาวุโสหรือเป็นอาจารย์หรือผู้บริหารในมหาวิทยาลัยและต้องการสมัครเป็นสมาชิกระดับCharterโดยตรงโดยไม่ผ่านการเป็นสมาชิกระดับAssociateมาก่อน ต้องมีประสบการณ์มาไม่ต่ำกว่า5ปีและผ่านการประเมินEP-APC (the Experienced Practitioner Assessment of Professional Competence)จึงจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
ระดับFellow - สำหรับ Chartered Town Planner ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการของสถาบันว่าเป็นผู้คอยสนับสนุนช่วยเหลืออย่างมากทางด้านศาสตร์และศิลป์ของงานวางแผนพัฒนาเมืองให้วงการวิชาชีพนี้ได้ทำคุณประโยชน์สู่สาธารณะ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้สมัครดังต่อไปนี้
Leadership – ผู้สมัครต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาวงการวิชาชีพนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
หากผู้สมัครที่เป็นนักวิจัยอาวุโสหรือเป็นอาจารย์หรือผู้บริหารในมหาวิทยาลัยและต้องการสมัครเป็นสมาชิกระดับCharterโดยตรงโดยไม่ผ่านการเป็นสมาชิกระดับAssociateมาก่อน ต้องมีประสบการณ์มาไม่ต่ำกว่า5ปีและผ่านการประเมินEP-APC (the Experienced Practitioner Assessment of Professional Competence)จึงจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกระดับChartered Membership
ระดับFellow - สำหรับ Chartered Town Planner ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการของสถาบันว่าเป็นผู้คอยสนับสนุนช่วยเหลืออย่างมากทางด้านศาสตร์และศิลป์ของงานวางแผนพัฒนาเมืองให้วงการวิชาชีพนี้ได้ทำคุณประโยชน์สู่สาธารณะ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้สมัครดังต่อไปนี้
Leadership – ผู้สมัครต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาวงการวิชาชีพนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
Innovation
– ผู้สมัครต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการค้นคิดแนวทางแก้ปัญหาเมืองที่เป็นอยู่หรือปัญหาเมืองใหม่ๆที่อุบัติขึ้นมาท้าทายต่องานวางแผนพัฒนาเมือง
Contribution to others in the profession and
the community – ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่ได้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนสมาชิกท่านอื่นๆในสาขาวิชาชีพและในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
สมาชิกทุกระดับ(ยกเว้นStudentและLicentiate)จะต้องจัดส่งแผนพัฒนาอาชีพของตนเอง(PDP: a professional development planในเวลา2ปีข้างหน้า แล้วทำการทำการสะสมคะแนน Continuing professional development (CPD) ที่ได้จากการแสวงหาความรู้จากการทำงานหรือเข้าร่วมการฝึกอบรม สัมมนาที่สอดคล้องกับPDP ให้ได้ครบ50ชั่วโมงCPD Activityในทุกๆ2ปี และส่งบันทึกคะแนนดังกล่าวให้แก่RTPIเพื่อทำการต่ออายุสมาชิกต่อไป
ตอนต่อไปจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรมาเล่าสู่กันฟังนั้น ขออุบไว้ก่อน แต่คงหนีไม่พ้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตอนต่างๆที่ผ่านมา หากสนใจ โปรดติดตาม.....
สมาชิกทุกระดับ(ยกเว้นStudentและLicentiate)จะต้องจัดส่งแผนพัฒนาอาชีพของตนเอง(PDP: a professional development planในเวลา2ปีข้างหน้า แล้วทำการทำการสะสมคะแนน Continuing professional development (CPD) ที่ได้จากการแสวงหาความรู้จากการทำงานหรือเข้าร่วมการฝึกอบรม สัมมนาที่สอดคล้องกับPDP ให้ได้ครบ50ชั่วโมงCPD Activityในทุกๆ2ปี และส่งบันทึกคะแนนดังกล่าวให้แก่RTPIเพื่อทำการต่ออายุสมาชิกต่อไป
ตอนต่อไปจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรมาเล่าสู่กันฟังนั้น ขออุบไว้ก่อน แต่คงหนีไม่พ้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตอนต่างๆที่ผ่านมา หากสนใจ โปรดติดตาม.....
- http://www.rtpi.org.uk
- The Worldwide Value of Planning
No comments:
Post a Comment