Thursday 4 May 2017

10. แนะนำ PMI โดยสังเขป


แนะนำProject Management Institute (PMI)

PMI (the Project Management Institute) เป็นอีกหนึ่งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(แต่ก็ต้องมีการเก็บค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียมต่างๆ)ที่มีการจัดประชุมทางวิชาการและเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในด้านงานบริหารโครงการซึ่งเป็นหลักการที่ครอบคลุมใช้ได้กับงานบริหารโครงการของทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น โครงการพัฒนาระบบในสาขา IT, HR, กฎหมาย, การเงิน, การตลาด ฯลฯ รวมทั้งโครงการก่อสร้างในระดับนานาชาติซึ่งวงการก่อสร้างไทยควรที่จะศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานงานบริหารโครงการก่อสร้างของบ้านเราให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล

 PMI ก่อตั้งขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิชาวอเมริกัน5ท่านในปีค.ศ.1969 ที่ร่วมประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการกันที่ Georgia Institute of TechnologyในAtlanta รัฐGeorgia ประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานใหญ่แห่งที่หนึ่งของ PMI ตั้งอยู่ในรัฐ Pennsylvaniaประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่แห่งที่สองตั้งอยู่ในกรุงป้กกิ่งประเทศจีน และมีสำนักงานย่อยอีกสองแห่งในเสิ่นเจิ้นและเซี่ยงไฮ้  นอกจากนี้ยังมีCustomer Care Center สำหรับดูแลภาคพื้นEMEA(Europe, Middle East and Africa)ในประเทศไอร์แลนด์ และสำหรับดูแลภาคพื้นAsia Pacific ในประเทศสิงคโปร์และมีService Centersอีกสองแห่งในเมืองเดลีและมุมไบประเทศอินเดีย ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า450,000คน และมีกลุ่มสมาชิกสาขาที่เรียกว่าLocal Chapterอยู่กว่า280สาขาในเมืองใหญ่ๆเกือบทุกประเทศในทุกทวีปทั่วโลก รวมทั้งThai Chapterในกรุงเทพสำหรับประเทศไทยด้วย


รายชื่อเอกสารที่เป็นStandards และ Practice Guidesที่PMIตีพิมพ์เผยแพร่ ประกอบด้วย

Foundation Standards ได้แก่
  •  A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK® Guide) – 5th Edition
                o   Software Extension to PMBOK® Guide – 5th Edition
                o   Construction Extension to the PMBOK® Guide (ซึ่งเป็นเอกสารเพิ่มเติมเฉพา   
                     สำหรับการบริหารโครงการก่อสร้าง)
                o   Government Extension to the PMBOK® Guide – 3rd Edition
  • Standard for Program Management – 3rd Edition
  • Standard for Portfolio Management – 3rd Edition
  • Organizational Project Management Maturity Model OPM3 – 3rd Edition

Practice Standards & Framework ได้แก่

  • Project Risk Management Practice Standard
  • Practice Standard for Earned Value Management – 2nd Edition
  • Project Configuration Management
  • Work Breakdown Structure Practice Standard
  • Practice Standard for Scheduling
  • Practice Standard for Project Estimating
  • Project Manager Competency Development


Practice Guides ได้แก่

  • Requirements Management
  • Governance of Portfolios., Programs, and Projects
  • Business Analysis Practice Guide
  • Implementing Organizational Project Management, A Practice Guide
  • Navigating Complexity, A Practice Guide
  • Managing Change Practice Guide


นอกจากPMIจะตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารPractice guidesดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว PMI ยังเปิดฝึกอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต่างๆแบบเรียนทางไกล(on line)เพื่อสอบรับใบประกาศนียบัตรที่เป็นคุณสมบัติที่นายจ้างที่เป็นบริษัทระดับข้ามชาติ เช่นบริษัทIT หรือ บริษัทติดตั้งลิฟท์บันไดเลื่อนสัญชาติอเมริกันฯลฯ มักจะระบุไว้ว่าผู้สมัครงานจะต้องมีใบประกาศนียบัตรเหล่านี้ 

PMI มีการจัดสอบรับใบประกาศนียบัตรเพื่อรับรองผู้สอบผ่านเป็นมืออาชีพเฉพาะทางในด้านต่างๆ ดังนี้

  • Project Management Professional (PMP) กล่าวโดยย่อ เป็นการรับรองสำหรับProject Managerมืออาชีพ
  • Program Management Professional (PgMP) กล่าวโดยย่อ เป็นการรับรองสำหรับProgram Managerมืออาชีพ (Programในที่นี้หมายถึง โครงการหลายๆโครงการที่องค์กรหนึ่งๆดำเนินการอยู่ Program Managerจะทำหน้าที่ดูแลงานหลายโครงการพร้อมกันนั้นในเชิงกลยุทธ์ที่จะทำให้โครงการแล้วเสร็จและบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร
  • Portfolio Management Professional (PfMP) กล่าวโดยย่อ เป็นการรับรองสำหรับPortfolio Managerมืออาชีพ (Portfolioในที่นี้หมายถึง ProgramหลายๆProgramที่องค์กรหนึ่งๆดำเนินการอยู่ Portfolio Managerจะทำหน้าที่ดูแลงานหลายProgramพร้อมกันนั้นในเชิงกลยุทธ์ที่จะทำให้Programแล้วเสร็จและบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร
  • Certified Associated in Project Management (CAPM) กล่าวโดยย่อ เป็นการรับรองว่าผู้สอบผ่านเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการในการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • PMI Professional in Business Analysis (PMI-PBA) กล่าวโดยย่อ เป็นการรับรองผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจของเจ้าขององค์กรที่จะสามารถผลักดันโครงการขององค์กรไปสู่ความสำเร็จ
  • PMI Agile Certificated Practitioner (PMI-ACP) กล่าวโดยย่อเป็นการรับรองไอทีโปรแกรมเมอร์สำหรับโครงการพัฒนาSoftwareที่เลือกทำงานด้วยแนวคิดและวิธีปฏิบัติแบบAgile ซึ่งเน้นการทำงานเป็นทีม แบ่งงานตามความถนัด และไม่เน้นกระบวนการวางแผนระยะยาวแต่จะเน้นปรึกษาหารือค่อยๆทำงานและปรับแก้ตามความต้องการเพื่อส่งงานในทีละขั้นตอนไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในที่สุด วิธีการตามแนวคิดAgileมีหลายวิธีเช่น SCRUM, XP, LEAN และ Kanban
  • PMI Risk Management Professional (PMI-RMP) กล่าวโดยย่อ เป็นการรับรองผู้เชี่ยวชาญการค้นหาและประเมินความเสี่ยงของโครงการ ตลอดจนกำหนดแผนรับมือกับความเสี่ยงตามโอกาสที่จะเกิดภัยต่างๆที่ประเมินไว้
  • PMI Scheduling Professional (PMI-SP) เป็นการรับรองสำหรับScheduler(นักเขียนแผนงานและดูแลปรับปรุงแผนงานโครงการ)มืออาชีพ

ผู้สอบผ่านการรับรองและถือใบประกาศนียบัตรอยู่ มีสิทธิที่จะนำคำย่อเหล่านี้เช่นPMP, CAPM ฯลฯ ไปต่อท้ายชื่อของตนในนามบัตรหรือในจดหมายต่างๆได้  การรับรองผู้สอบผ่านการรับรองเป็นมืออาชีพเฉพาะทางสาขาต่างๆจะมีอายุ 3ปี ในช่วง3ปีที่ถือใบประกาศฯอยู่ หากผู้สอบผ่านได้รับการรับรองวิชาเฉพาะทาง(สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา)ต้องการต่ออายุใบประกาศนียบัตรเหล่านั้น ก็จะต้องทำการสะสมคะแนน Professional Development Units (PDUs) ที่ได้จากการแสวงหาความรู้จากการทำงานหรือเข้าร่วมสัมมนา(ซึ่งสามารถร่วมสัมมนาสดแบบออนไลน์หรือจะเข้าไปดูย้อนหลังก็ได้) อย่างต่อเนื่องรวมให้ได้ครบจำนวน60 PDUsสำหรับ PMP, PgMP, PfMP, PMI-PBA และ 30 PDUsสำหรับ PMI-ACP, PMI-SP, PMI-RMP โดยเลือกเก็บคะแนนได้จาก Continuing Certification Renewal System (CCRS) 2 แนวทาง ให้ได้คะแนนสะสมรวม60 PDUs หรือ 30PDUs แล้วแต่ประเภทประกาศนียบัตรสาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขาที่ถืออยู่ ตามที่กำหนด คือ



1 . Education (Course or training, Organization meetings, Online or Digital media, Read, Informal learning) : โดยต้องได้ไม่ต่ำกว่า35PDUs จากหมวดต่อไปนี้

  • หมวด Technical  (ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 8 PDUs)
  • หมวด Leadership (ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 8 PDUs)
  • หมวด Strategic & Business (ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 8 PDUs)
  • หมวด General Education

2. Giving Back (Work as a Practitioner, Create Content, Give a Presentation, Share Knowledge, Volunteer) : โดยเก็บคะแนนแบบนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 25 PDUs จากหมวดต่อไปนี้

  • หมวด Work as a Practitioner (เก็บได้สูงสุดไม่เกิน 8 PDUs)
  • หมวด Other Giving Back

ผู้เขียนเข้าใจว่าสภาวิศวกรไทย(COE)ก็ได้นำวิธีการเก็บคะแนนPDUsคล้ายกันนี้มาใช้ในการเลื่อนระดับขั้นวิศวกร

ใบรับรองที่มีผู้ถืออยู่แพร่หลายมากที่สุดเหมือนๆกันเป็นส่วนใหญ่ในทุกประเทศ คือ PMP Certificate ซึ่งผู้สอบผ่านการรับรองเป็นProject Managerมืออาชีพ(ตามมาตรฐานของPMI)จะต้องเข้าใจพื้นฐานเนื้อหาของ Project Management Body of Knowledge (PMBOK® Guide) ที่ว่าด้วยกระบวนการบริหารโครงการที่PMIแบ่งออกเป็น 5 Process Groups ได้แก่ 
       I.    Initiating
       II.   Planning
       III.  Executing
       IV. Monitoring & Control และ  
       V.  Closing  
ซึ่งประกอบด้วยProcessย่อยๆรวม 47 Processesที่จัดกลุ่มได้เป็น10 Knowledge areasได้แก่

      1.    Integration
      2.    Scope
      3.    Time
      4.    Cost
      5.    Quality
      6.    Procurement
      7.    Human Resources
      8.    Communications
      9.    Risk Management และ
     10.   Stakeholder Management 
   

และสำหรับเอกสารเพิ่มเติมเฉพาะสาขาการบริหารโครงการก่อสร้าง(Construction Extension)จะเป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาเพิ่มขึ้นจาก PMBOK® Guide ใน 4 areas คือ
  
     11.   All project resources, rather than just human resources 
     12.   Project health, safety, security, and environmental management
     13.   Project financial management, in addition to cost และ 
     14.   Management of claims in construction



ตอนต่อไปจะกล่าวถึง The Chartered Institute of Arbitrators (CIArb) หรือสถาบันอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ ที่มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรม Construction Adjudication Course โดยสังเขปเท่าที่พอจะค้นคว้าได้ทางอินเตอร์เน็ตมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อหวังว่าจะมีผู้รู้ในศาสตร์ด้านนี้ในเมืองไทยได้เข้ามาCommentมอบความรู้ให้ผู้เขียนและผู้อ่านท่านอื่นๆที่สนใจด้วย  โปรดติดตาม….



References and Credits

-     
      -  http://www.pmi.org
-     - http://pmithai.org

-     - A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK® Guide) – 5th Edition



No comments:

Post a Comment