Wednesday, 3 May 2017

9. แนะนำ AACE International โดยสังเขป


แนะนำ AACE International

AACE (the Association for the Advancement of Cost Engineering) เป็นอีกหนึ่งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(แต่ก็ต้องมีการเก็บค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียมต่างๆ)ที่มีการจัดประชุมทางวิชาการและเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารสัญญาในโครงการก่อสร้าง(AACE International Recommended Practices)โดยเน้นที่เรื่องCost, Schedule, Risk Management รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดกรณีการเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับขยายระยะเวลาและเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างเพิ่ม(Claim)ในงานก่อสร้าง ออกมามากมายหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติซึ่งวงการก่อสร้างไทยควรที่จะศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานงานบริหารโครงการก่อสร้างของบ้านเราให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล



AACE ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1956 โดยcost estimators and cost engineersรวม59คนที่เข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้นโดย the American Association of Cost Engineering ที่มหาวิทยาลัยNew Hampshire สำนักงานใหญ่ของ AACE International ตั้งอยู่ในรัฐ West Virginiaประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิก8,500 คนใน100ประเทศทั่วโลก

ตัวอย่างรายชื่อRecommended Practicesเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิขอขยายระยะเวลาและเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างเพิ่มที่น่าสนใจที่AACE Internationalได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ไดแก่


ที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง (ซึ่งเกี่ยวข้องกับRisk Events) เช่น

  • Contract Risk Allocation – As Applied in Engineering, Procurement, and Construction
  • CPM Schedule Risk Modeling and Analysis: Special Considerations
  • Developing a Project Risk Management Plan
  • Escalation Estimating Using Indices and Monte Carlo Simulation
  • Integrated Cost and Schedule Risk Analysis and Contingency Determination Using Expected Value
  • Integrated Cost and Schedule Risk Analysis Using Monte Carlo Simulation of a CPM Model
  • Quality Control/Quality Assurance for Risk Management
  • Required Skills and Knowledge of Decision and Risk Management
  • Risk Analysis and Contingency Determination Using Expected Value
  • Risk Analysis and Contingency Determination Using Parametric Estimating
  • Risk Analysis and Contingency Determination Using Range Estimating
  • Risk Assessment: Identification and Qualitative Analysis
  • Risk Treatment

ที่เกี่ยวกับแผนงาน และ การเคลมเวลา (อังกฤษเรียกแผนงานว่า Programme แต่อเมริกาเรียกว่า Schedule) เช่น

  • Forensic Schedule Analysis
  • Identifying the Critical Path
  • Level of Effort Planning and Execution on Earned Value Projects - Within the Framework of ANSI EIA-74
  • Original Baseline Schedule Review - As Applied in Engineering, Procurement, and Construction
  • Planning and Accounting for Adverse Weather
  • Recovery Scheduling—As Applied in Engineering, Procurement, and Construction
  • Required Skills and Knowledge of Earned Value Management
  • Responsibility and Required Skills for a Project Planning and Scheduling Professional
  • Schedule Classification System
  • Schedule Constructability Review
  • Schedule Design – As Applied in Engineering, Procurement, and Construction
  • Schedule Levels of Detail—As Applied in Engineering, Procurement, and Construction
  • Schedule Update Review – As Applied In Engineering, Procurement and Construction
  • Scheduling Claims Protection Methods
  • Time Impact Analysis – As Applied in Construction
  • Tracking the Procurement Process using a CPM Schedule – As Applied in Construction

ที่เกี่ยวกับการเคลมค่าใช้จ่าย ค่าเสียหายเพิ่ม เช่น

  • Cost Engineering Terminology
  • Cost Estimate Classification System
  • Direct Labor Productivity Measurement - As Applied in Construction and Major Maintenance Projects
  • Earned Value Management (EVM) Overview and Recommended Practices Consistent with ANSI EIA-748
  • Establishing Labor Productivity Norms
  • Estimating Lost Labor Productivity in Construction Claims
  • Project Code of Accounts
  • Analyzing S-Curves
  • Reviewing, Validating, and Documenting the Estimate
นอกจากAACE Internationalจะตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารRecommended Practicesดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว AACE ยังเปิดฝึกอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต่างๆแบบเรียนทางไกล(on line)เพื่อสอบรับใบประกาศนียบัตรที่เป็นคุณสมบัติที่นายจ้างที่เป็นบริษัทก่อสร้างระดับข้ามชาติมักจะระบุไว้ว่าผู้สมัครงานจะต้องมีใบประกาศนียบัตรเหล่านี้


AACE International แบ่งใบประกาศนียบัตรรับรองผู้สอบผ่านเป็นมืออาชีพออกเป็น 3ระดับ ได้แก่


ระดับTechnician Level Certifications มีการรับรอง 2 สาขาวิชาเฉพาะทาง คือ

  • Certified Cost Technician (CCT)
  • Certified Scheduling Technician (CST)

ระดับProfessional Level Certificationsมีการรับรอง 4 สาขาวิชาเฉพาะทาง คือ

  • Certified Cost Professional (CCP)
  • Certified Estimating Professional (CEP)
  • Earned Value Professional (EVP)
  • Planning & Scheduling Professional (PSP)

ระดับ Expertise Level Certificationsมีการรับรอง 2 สาขาวิชาเฉพาะทาง คือ

  • Certified Forensic Claims Consultant (CFCC)
  • Decision & Risk Management Professional (DRMP)

การรับรองผู้สอบผ่านเป็นมืออาชีพแต่ละระดับจะมีอายุ 3ปี ในช่วง3ปีที่ถือใบประกาศฯอยู่ หากผู้สอบผ่านได้รับการรับรองวิชาเฉพาะทาง(สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา)ต้องการต่ออายุใบประกาศนียบัตรเหล่านั้น ก็จะต้องทำการสะสมคะแนน Continuing Education Units (CEUs) ที่ได้จากการแสวงหาความรู้จากการทำงานอย่างต่อเนื่องรวมให้ได้ครบจำนวน12CEUs โดยเลือกเก็บคะแนนได้จาก 4 Category คือ
  • Category A: Performed (การทำงานในสายอาชีพ ซึ่งเลือกเก็บคะแนนประเภทนี้ได้สูงสุด 6 CEUs)
  • Category B: Professional Development (การพัฒนายกระดับความรู้ในสายอาชีพกับAACE ซึ่งเลือกเก็บคะแนนประเภทนี้ได้สูงสุด 10 CEUs)
  • Category C: Industry Contribution(การทำงานอาสาสมัครในสายอาชีพ ซึ่งเลือกเก็บคะแนนประเภทนี้ได้สูงสุด10 CEUs)
  • Category D: Volunteer Service(การทำงานอาสาสมัครร่วมกับAACE ซึ่งเลือกเก็บคะแนนประเภทนี้ได้สูงสุด 10 CEUs)

หากไม่ต้องการต่ออายุโดยวิธีเก็บคะแนนตามที่กล่าวมาข้างต้น(หรือเก็บคะแนนได้ไม่ครบในเวลา3ปี) ก็สามารถจะเลือกเข้าสอบวัดความรู้อีกครั้ง เหมือนกับผู้เข้าสอบใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับใบประกาศฯ ซึ่งการต่ออายุทั้งสองวิธีก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นตามจำนวนใบประกาศฯสาขาวิชาต่างๆที่ถืออยู่

   

ตอนต่อไปจะกล่าวถึงProject Management Institute(PMI) ของอเมริกาเช่นกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีการดำเนินงานในลักษณะคล้ายกับAACE แต่เป็นเรื่องของหลักปฏิบัติในงานด้านการบริหารโครงการที่ไม่ได้เน้นเฉพาะโครงการก่อสร้าง แต่เป็นหลักการที่นำไปใช้ได้กับทุกวงการที่เป็นสาขาอาชีพที่การดำเนินงานจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารงานโครงการที่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอนที่ไม่ใช่งานลักษณะงานRoutine แบบงานOperation หากสนใจ โปรดติดตาม….




References and Credits

No comments:

Post a Comment