เอกสาร "Delay and Disruption Protocol" ตอนที่3
แนวคิดเกี่ยวกับ ความล่าช้า การทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง และ การเร่งรัดงาน (Delay, Disruption and Acceleration Concepts)
ในตอนนี้เป็นการหยิบยกบางส่วนของSCL's D&D Protocol Guidance Part A - Delay, Disruption and Acceleration Concepts ที่น่าสนใจและอาจเป็นเรื่องที่เราอาจไม่คุ้นเคยหรือมองข้ามความสำคัญไปมาขยายความ ดังนี้
ความล่าช้า (Delay)
ความล่าช้า(Delay) หมายถึงการที่ทำงานจริงใช้เวลาล่าช้าไปมากกว่าแผนที่คิดไว้ ถ้าเป็นCritical DelayคือกระทบCritical Path วันแล้วเสร็จงานทั้งหมดก็จะเลยกำหนดตามสัญญา จากความเป็นจริงที่ว่า”เวลาเป็นเงินเป็นทอง” เมื่อเกิดความล่าช้าขึ้น ผู้รับจ้างที่เชื่อว่าตนพึงรักษาสิทธิที่มีจึงมักเรียกร้องสิทธิในการขอขยายเวลาก่อสร้างพร้อมเรียกร้องเงินชดเชยเพิ่มเติมจากความล่าช้า ซึ่งมีได้ทั้งหมด 3 กรณี คือ
1) การงดเว้นไม่ต้องจ่ายค่าเสียที่เกิดจากความล่าช้า (LDs) ให้แก่ผู้ว่าจ้าง
2) เงินชดเชยสำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามเวลา (time-related costs)
3) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดงานเพื่อตีคืนเวลาที่ล่าช้าออกไปให้กลับคืนมา
ในการเรียกร้องสิทธิจากความล่าช้า(Prolongation Claim) จึงเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความล่าช้าที่เกิดขึ้น(analysis of delay)โดยผู้รับจ้างต้องจัดทำเอกสารวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของความล่าช้าที่กระทบCritical Path พร้อมหลักฐานสนับสนุนมายืนยันการอ้างสิทธิเรียกร้องดังกล่าว
การทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง (Disruption)
การทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง (Disruption)หมายถึง การที่มีเหตุที่เป็นอุปสรรคมารบกวน ขัดขวาง ให้การทำงานต้องหยุดชะงัก ชะลอลงหรือไม่สามารถทำงานตามวิธีการตามปกติที่วางแผนไว้ ทำให้การทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่หรือได้ผลงานลดลง จนเป็นเหตุให้ต้องใช้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางตรงที่เพิ่มขึ้นเพื่อเร่งรัดทำงานนั้นให้แล้วเสร็จ การเรียกร้องสิทธิจากการทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง(Disruption Claim) จึงเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลิตภาพที่ลดลง (analysis of productivity of work activities)ไม่ว่างานที่ทำได้ไม่ต่อเนื่องนั้น จะอยู่บนCritical Pathหรือไม่ก็ตาม แต่หากงานที่ถูกรบกวนให้สะดุดไม่ต่อเนื่องนั้นอยู่บนCritical Pathก็อาจก่อให้เกิดการเรียกร้องสิทธิขอขยายเวลาก่อสร้างที่เกิดจากCritical Delay พร้อมเรียกร้องเงินชดเชยเพิ่มเติมตามเวลาขึ้นอีกด้วยดังกล่าวมาแล้ว
การเร่งรัดงาน (Acceleration)
เอกสารProtocolพูดถึงทั้งการตีเวลาคืน(Mitigation)และการเร่งรัดงาน(Acceleration)และอธิบายว่า การเร่งรัดงานเป็นส่วนหนึ่งของการตีเวลาคืนที่เป็นการแก้ไขสถานการณ์ความล่าช้า (Acceleration is a subset of mitigation) จากหลักคิดที่ว่า แม้ผู้รับจ้างจะมีหน้าที่ต้องแก้ไขปัญหางานโดยเร่งรัดตีคืนเวลาที่เสียไปจากความล่าช้าที่เกิดขึ้นก็ตาม หากความล่าช้านั้นเกิดจากเหตุที่ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง(Employer Risk Event) ผู้รับจ้างไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเร่งรัดแก้ปัญหาจากความล่าช้าและการทำงานได้ไม่ต่อเนื่องจากเหตุอันนั้น เมื่อผู้รับจ้างได้พยายามอย่างสุดความสามารถเร่งรัดงานในท่ามกลางเหตุดังกล่าวจนกระทั่งกลับมาแล้วเสร็จได้ตามกำหนดเดิมในสัญญา ผู้รับจ้างจึงอาจเรียกร้องเงินชดเชยจากการเร่งรัดงาน(Acceleration Claim)ได้ และในกรณีAcceleration Claimนี้ได้รับการอนุมัติ เมื่อสามารถตีคืนเวลาให้กลับมาเสร็จตามกำหนดเดิมแล้ว จึงทำให้สิทธิในProlongation Claimก็ย่อมไม่เกิดขึ้น
ตอนต่อไปจะหยิบยกบางส่วนของรายละเอียดSCL's D&D Protocol Guidance Part B - Guidance on Core Principles ที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่เราอาจจะไม่คุ้นเคยหรือเราอาจมองข้ามความสำคัญมาขยายความสู่กันฟัง หากสนใจ... โปรดติดตาม...
References and Credits:
- http://www.scl.org.uk/resources/delay-disruption-protocol
ตอนต่อไปจะหยิบยกบางส่วนของรายละเอียดSCL's D&D Protocol Guidance Part B - Guidance on Core Principles ที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่เราอาจไม่คุ้นเคยหรือเราอาจมองข้ามความสำคัญมาขยายความสู่กันฟัง หากสนใจ...โปรดติดตามตอนต่อไป......
ความล่าช้า(Delay) หมายถึงการที่ทำงานจริงใช้เวลาล่าช้าไปมากกว่าแผนที่คิดไว้ ถ้าเป็นCritical DelayคือกระทบCritical Path วันแล้วเสร็จงานทั้งหมดก็จะเลยกำหนดตามสัญญา จากความเป็นจริงที่ว่า”เวลาเป็นเงินเป็นทอง” เมื่อเกิดความล่าช้าขึ้น ผู้รับจ้างที่เชื่อว่าตนพึงรักษาสิทธิที่มีจึงมักเรียกร้องสิทธิในการขอขยายเวลาก่อสร้างพร้อมเรียกร้องเงินชดเชยเพิ่มเติมจากความล่าช้า ซึ่งมีได้ทั้งหมด 3 กรณี คือ
1) การงดเว้นไม่ต้องจ่ายค่าเสียที่เกิดจากความล่าช้า (LDs) ให้แก่ผู้ว่าจ้าง
2) เงินชดเชยสำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามเวลา (time-related costs)
3) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดงานเพื่อตีคืนเวลาที่ล่าช้าออกไปให้กลับคืนมา
ในการเรียกร้องสิทธิจากความล่าช้า(Prolongation Claim) จึงเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความล่าช้าที่เกิดขึ้น(analysis of delay)โดยผู้รับจ้างต้องจัดทำเอกสารวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของความล่าช้าที่กระทบCritical Path พร้อมหลักฐานสนับสนุนมายืนยันการอ้างสิทธิเรียกร้องดังกล่าว
การทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง (Disruption)
การทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง (Disruption)หมายถึง การที่มีเหตุที่เป็นอุปสรรคมารบกวน ขัดขวาง ให้การทำงานต้องหยุดชะงัก ชะลอลงหรือไม่สามารถทำงานตามวิธีการตามปกติที่วางแผนไว้ ทำให้การทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่หรือได้ผลงานลดลง จนเป็นเหตุให้ต้องใช้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางตรงที่เพิ่มขึ้นเพื่อเร่งรัดทำงานนั้นให้แล้วเสร็จ การเรียกร้องสิทธิจากการทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง(Disruption Claim) จึงเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลิตภาพที่ลดลง (analysis of productivity of work activities)ไม่ว่างานที่ทำได้ไม่ต่อเนื่องนั้น จะอยู่บนCritical Pathหรือไม่ก็ตาม แต่หากงานที่ถูกรบกวนให้สะดุดไม่ต่อเนื่องนั้นอยู่บนCritical Pathก็อาจก่อให้เกิดการเรียกร้องสิทธิขอขยายเวลาก่อสร้างที่เกิดจากCritical Delay พร้อมเรียกร้องเงินชดเชยเพิ่มเติมตามเวลาขึ้นอีกด้วยดังกล่าวมาแล้ว
การเร่งรัดงาน (Acceleration)
เอกสารProtocolพูดถึงทั้งการตีเวลาคืน(Mitigation)และการเร่งรัดงาน(Acceleration)และอธิบายว่า การเร่งรัดงานเป็นส่วนหนึ่งของการตีเวลาคืนที่เป็นการแก้ไขสถานการณ์ความล่าช้า (Acceleration is a subset of mitigation) จากหลักคิดที่ว่า แม้ผู้รับจ้างจะมีหน้าที่ต้องแก้ไขปัญหางานโดยเร่งรัดตีคืนเวลาที่เสียไปจากความล่าช้าที่เกิดขึ้นก็ตาม หากความล่าช้านั้นเกิดจากเหตุที่ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง(Employer Risk Event) ผู้รับจ้างไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเร่งรัดแก้ปัญหาจากความล่าช้าและการทำงานได้ไม่ต่อเนื่องจากเหตุอันนั้น เมื่อผู้รับจ้างได้พยายามอย่างสุดความสามารถเร่งรัดงานในท่ามกลางเหตุดังกล่าวจนกระทั่งกลับมาแล้วเสร็จได้ตามกำหนดเดิมในสัญญา ผู้รับจ้างจึงอาจเรียกร้องเงินชดเชยจากการเร่งรัดงาน(Acceleration Claim)ได้ และในกรณีAcceleration Claimนี้ได้รับการอนุมัติ เมื่อสามารถตีคืนเวลาให้กลับมาเสร็จตามกำหนดเดิมแล้ว จึงทำให้สิทธิในProlongation Claimก็ย่อมไม่เกิดขึ้น
ตอนต่อไปจะหยิบยกบางส่วนของรายละเอียดSCL's D&D Protocol Guidance Part B - Guidance on Core Principles ที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่เราอาจจะไม่คุ้นเคยหรือเราอาจมองข้ามความสำคัญมาขยายความสู่กันฟัง หากสนใจ... โปรดติดตาม...
References and Credits:
- http://www.scl.org.uk/resources/delay-disruption-protocol
ตอนต่อไปจะหยิบยกบางส่วนของรายละเอียดSCL's D&D Protocol Guidance Part B - Guidance on Core Principles ที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่เราอาจไม่คุ้นเคยหรือเราอาจมองข้ามความสำคัญมาขยายความสู่กันฟัง หากสนใจ...โปรดติดตามตอนต่อไป......
No comments:
Post a Comment