Tuesday 18 April 2017

3.เอกสาร "Delay and Disruption Protocol" ตอนที่1

เอกสาร "Delay and Disruption Protocol" ตอนที่1

ตอนนี้จะกล่าวถึงเอกสาร"Delay and Disruption Protocol" ที่จัดทำออกเผยแพร่ครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปีค.ศ.2002 โดยThe Society of Construction Lawที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ปีค.ศ.1983 เพื่อวางแนวทางหลักการทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับประเด็นข้อเรียกร้องต่างๆที่มักเกิดขึ้นกับการดำเนินการตามสัญญาก่อสร้างที่ฝ่ายหนึ่งมักจะเรียกร้องขอเงินชดเชยเพิ่มเติมและ/หรือขอขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปต่ออีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ให้คู่สัญญาอ้างอิงกติกา(ในพิธีสาร)นี้และใช้เป็นเครื่องมือในการตกลงกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่ควรจะยุติลงได้ด้วยการเจรจา

เอกสารD&D Protocolที่เผยแพร่ครั้งแรกในปี2002ได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายในโครงการก่อสร้างต่างๆทั่วโลก จึงเป็นเหตุที่ทำให้SCLต้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขครั้งที่2และเพิ่งจะเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017ที่ผ่านมา การปรับปรุงแก้ไขนี้ก็เพื่อให้เป็นสากลมากขึ้นกว่าเดิมที่เอกสารนี้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของกฎหมายอังกฤษและเวลส์เพื่อใช้กับโครงการก่อสร้างในสหราชอาณาจักรเป็นหลักเท่านั้น

อย่างไรก็ตามเอกสาร D&D Protocol 2nd Editionนี้ก็ยังคงหนีไม่พ้นการวางหลักเกณฑ์อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายอังกฤษ จึงมีสมาคมกฏหมายก่อสร้างของบางประเทศ เช่นประเทศมาเลเซียที่เพิ่งจะจัดทำเอกสารเพิ่มเติม(Supplementary)โดยอ้างอิงจากD&D Protocol 1st Edition ในเวลาไล่เลี่ยกันกับที่SCLออก2nd Editionเพื่อปรับให้เข้ากับกฎหมายของมาเลเซียเอง ซึ่งหลายๆประเทศก็อาจกำลังทำตามอย่างนี้อยู่ก็ได้

สำหรับผู้ที่เคยศึกษาD&D Protocol 1st Editionก็จะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงมากพอสมควรในD&D Protocol 2nd Edition เริ่มกันตั้งแต่หน้าสารบัญที่มีการปรับเปลี่ยนการจัดวางหมวดหมู่ของเนื้อหาไปมากจนผู้เขียนถือว่าไม่ใช่minor changeเลย ผู้ที่เคยศึกษามาแล้วก็จะทราบื้นฐานหลักวิธีคิดเดิมเกี่ยวกับ"ความล่าช้าและการทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง"(Delay and Disruption)ของSCL สำหรับประเด็นที่มีการปรับแก้นั้นมุ่งเน้นที่8ประเด็นหลักซึ่งมีอธิบายไว้ในบทนำ(Introduction)หัวข้อK.และได้มีผู้สรุปไว้ใน https://www.whitecase.com/publications/alert/second-edition-scl-delay-and-disruption-protocol  ส่วนสำหรับผู้ใหม่นั้น ผู้เขียนแนะนำให้เริ่มศึกษาจาก 2nd Editionไปเลย โดยblogตอนนี้ก็จะนำเนื้อหาจาก2nd Editionมาเล่าสู่กันฟัง โดยไม่ย้อนกลับไปพูดถึง1st Editionให้สับสนอีก

 สารบัญ (Content) ของ D&D Protocol 2nd Edition, February 2017 ประกอบด้วย 

  • Core Principles - จะวางแก่นของหลักการเกี่ยวกับแผนงาน ความล่าช้า การขอขยายเวลา(EOT : Extension of Time) หลักการเรียกร้องสิทธิต่างๆ(Claims) การประเมินมูลค่างานเพิ่มลด การชดเชยค่าใช้จ่ายจากการเวลาที่ยืดออกไป(Prolongation) ฯลฯ

  • Guidance Part A : Delay, Disruption & Acceleration Concept - จะอธิบายแนวทางหลักการทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับความล่าช้า การทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง และการเร่งรัดงาน

  • Guidance Part B : Guidance on Core Principles - จะอธิบายแนวทางหลักการทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับ แก่นของหลักการ(Core Principles) 22ข้อ

  • Guidance Part C : Other Financial Heads of Claim - จะพูดถึงหมวดค่าใช้จ่ายอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วในPartAและB ที่มักมีการเรียกร้องให้มีการชดเชยเพิ่มเติม ได้แก่ ดอกเบี้ย(Interest), ค่าโสหุ้ยดำเนินการและกำไร(Head office overheads and profit) และค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อเรียกร้องสิทธิ (Claim Preparation costs)

  • Appendix A : Definition and Glossary - เป็นภาคผนวกเกี่ยวกับนิยามและพจนานุกรมคำศัพท์ต่างๆ

  • Appendix B : Record types and examples - เป็นภาคผนวกเกี่ยวกับเอกสารบันทึกข้อมูลต่างๆในโครงการก่อสร้างแบ่งเป็น 6ประเภท พร้อมหลักการและเหตุผลที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการใช้เจรจาเรียกร้องสิทธิจากความล่าช้าและการทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง(Delay and Disruption)เพื่อหาข้อยุติร่วมกันที่จะเป็นการหลีกเลี่ยงข้อพิพาทได้

 ตอนต่อไป จะได้หยิบยกเอาเนื้อหาในเอกสารD&D Protocol 2nd Edition มาย่อยให้ผู้อ่านได้เข้าใจกันพอสังเขปทีละตอนๆ จนจบเนื้อหาทั้งหมดของเอกสาร หากสนใจโปรดติดตาม......

 

References and Credits:

- https://www.scl.org.uk/resources/delay-disruption-protocol 

- https://www.whitecase.com/publications/alert/second-edition-scl-delay-and-disruption-protocol

3 comments:

  1. การบริหาร Delay and disruption ที่ดี ต้องมีระบบเอกสารที่เข้มแข็งมากๆ กำลังศึกษา Conzol และราคาอยู่ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. เห็นด้วยครับ Document Control Solution มีมากมายที่ใช้กันในต่างประเทศ แต่ผมเชื่อว่าคนไทยเราก็เก่งเรื่องการเขียนSoftwareไม่แพ้ใคร ช่วยกันสนับสนุน Software ของไทยก็จะช่วยกันพัฒนาITไทยอีกวงการหนึ่งครับ

      Delete
  2. I really liked your Information. Keep up the and keep sharing this type of information Child Custody Attorney Sherman Oaks

    ReplyDelete